วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่ม 103 วันนจันทร์ 11:30-14:00
วันที่ 13 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557



เนื้อหาความรู้ที่ได้วันนี้

     * เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Chilren with Learning Disabilities)



            * ออทิสติก (Autistic)



ตัวอย่างการเขียน


ความรู้เพิ่มเติม

     อาชีวบำบัดเพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ความหมายของงานอาชีวบำบัด
อาชีวบำบัดเป็นสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องในงานฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยตั้งอยู่บนหลักปรัชญาที่ว่า “หากผู้ป่วยหรือผู้บกพร่องสามารถทำกิจกรรมอย่างมีความจุดมุ่งหมายตามวัย และบทบาทของตนได้ เขาก็จะมีความสุข และสามารถป้องกันความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ก่อนเวลาอันควรได้เช่นกัน” ดังนั้น ในการดูแลรักษาตามทัศนะทางอาชีวบำบัดจึงเป็นเรื่องของการช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ความสามารถจะอำนวยได้ โดยการนำกิจกรรมต่างๆมาใช้อย่างมีจุดมุ่งหมาย อันได้แก่การส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ผู้มีความผิดปกติทางจิตสังคม ผู้มีปัญหาพัฒนาการเรียนรู้ ผู้มีปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมทั้งบุคคลทั่วไปเพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างอิสระ และพึ่งพิงตนเอง
                            งานอาชีวบำบัด  หมายถึง  การบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยงาน ซึ่งผู้ให้การบำบัด ( therapist ) ต้องมีทักษะในการทำงานหลายชนิด  และมีความเข้าใจในงานเพื่อที่จะหาวิธีการ  การจัดบริการให้ผู้ป่วย  รวมทั้งเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาและประสานงาน  ซึ่งงานอาชีวบำบัดจะเป็น  treatment  มากกว่าการช่วยเหลือและมีจุดมุ่งหมายเฉพาะการรักษา  โดยใช้กิจกรรมที่ประยุกต์จากงานอาชีพต่างๆ เพื่อบำบัดอาการ  รวมทั้งใช้กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่  ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ  เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอสรุปความหมายของงานอาชีวบำบัดได้ดังนี้   งานอาชีวบำบัด  หมายถึง  งานที่จัดขึ้นเพื่อบำบัดอาการทางร่างกาย  จิตใจและส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม  ควรเป็นงานที่ผู้ป่วยสนใจ  และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เกิดความเพลิดเพลินมีสมาธิ  จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน  ได้ออกกำลังกายและไม่หวังผลกำไรจากการปฏิบัติงานนี้
ความเป็นมา
ในระหว่างสงครามโลกครั้งครั้งที่  1 ( พ.ศ.2457-2461 ) ทหารที่ได้รับความเจ็บป่วยหลังสงคราม  ได้มาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทหาร ( Mental  Hospital ) ในระหว่างนั้นมีอาสาสมัครมาสอนงานประเภทฝีมือให้กับผู้ป่วยเรื้อรังที่นั่ง  นอน  อยู่เฉยๆ  ผลปรากฏว่าผู้ป่วยเกิดความเพลิดเพลินและไม่หมกมุ่นครุ่นคิดมาก  ซึ่งในระยะเวลาต่อมาในการรักษาผู้ป่วยโรคจิต  ได้เลิกการกักขังและทุบตีผู้ป่วย  โดยนำงานฝีมือ  และกิจกรรมต่างๆ เข้าใช้ในการบำบัดรักษาภายในโรงพยาบาล  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความ   เพลิดเพลิน  มีความสุขทางใจและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
Galen  ผู้เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงของประเทศกรีก  ท่านเป็นผู้สนับสนุนการบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยการทำงาน  Galen  กล่าวว่า  “ Employment  is  nature’s  best  physician  and  is  essential  to  human  happiness ” ( งานเป็นแพทย์ธรรมชาติที่ดีที่สุด  ที่ทำให้มนุษย์มีความสุข ) ท่านได้แนะนำให้ผู้ป่วยทำงาน  เช่น  ปลูกต้นไม้  พรวนดิน  ตกปลา  วาดภาพ  เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของงานอาชีวบำบัด
งานอาชีวบำบัดมีลักษณะสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
  1. เป็นงานที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยทุกระยะ  และทุกประเภททั้งลักษณะอาการ  และความรุนแรง  ยกเว้นระยะที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง  และผู้อื่น
  2. เป็นงานที่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน
  3. เป็นงานที่มีกิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจ  และคุ้นเคยอยู่แล้ว
  4. เป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน  และการเลี้ยงชีพในอนาคต
  5. เทคนิคที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน  แต่ควรคำนึงถึงสมรรถภาพและอาการของผู้ป่วยเป็นแนวทางสำคัญ
  6. กิจกรรมในงานอาชีวบำบัดจะใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นพื้นบ้าน
  7. สามารถให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม
  8. กิจกรรมมีความสำเร็จเสร็จสิ้นได้ด้วยตนเอง  สามารถปรับเวลาและความประณีตได้  สามารถสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าให้แก่ผู้ป่วยได้
กิจกรรมในงานอาชีวบำบัด
กล่าวว่ากิจกรรมในงานอาชีวบำบัด  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  พอสรุปได้ดังนี้
  1. กิจกรรมที่กำหนดรูปแบบ (Structured  activity)  คือกิจกรรมที่กำหนดวิธีการทำ  กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่แน่นอน  ทั้งทางด้านสีและขนาด  ผู้ป่วยจะต้องทำตามขั้นตอนและใช้วัสดุอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ตายตัว  กิจกรรมประเภทนี้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา  และใช้ความคิดสร้างสรรค์บ้างเล็กน้อย  เช่น  การทำอาหาร  ทำขนม  งานไม้  เป็นต้น
  2. กิจกรรมที่ไม่กำหนดรูปแบบ (Unstructured  activity)  คือกิจกรรมที่ไม่มีวิธีแบบแผน  ในการทำกิจกรรมตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่แน่นอน  ทำให้ผู้ป่วยได้แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดได้เต็มที่  เปิดโอกาสให้ได้ตัดสินใจ  และออกความคิดสร้างสรรค์  กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่  การวาดภาพ  ระบายสี  การปลูกต้นไม้  ตัดเย็บเสื้อผ้า  ศิลปะประดิษฐ์  งานกราฟฟิค  ดนตรี  เป็นต้น
กิจกรรมที่ใช้ในงานอาชีวบำบัด
     1. กิจกรรมทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิต 6 ด้าน
1.1 ทักษะการดูแลตนเอง ฝึกพัฒนาทักษะผู้ป่วยด้านการดูแลตนเอง กิจกรรมที่ให้บริการ ได้แก่
– การดูแลทำความสะอาดร่างกาย
– กิจกรรมการซัก– รีดเสื้อผ้า
– การประกอบอาหารอย่างง่าย
1.2 ทักษะสังคม ฝึกกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นด้านการมีสัมพันธภาพ ที่เหมาะสมกับบุคคลรอบข้าง   กิจกรรมที่ให้บริการ ได้แก่
– กิจกรรมการเข้าสังคม – กิจกรรมนันทนาการ
– กิจกรรมการพูดคุย – สื่อสารกับผู้อื่น
1.3 ทักษะการใช้ชีวิตภายในบ้าน ฝึกกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้ป่วยให้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองเมื่ออยู่ ร่วมกับครอบครัว เช่น  บทบาทของความเป็นพ่อ แม่ ลูก หรือเครือญาติ กิจกรรมที่ให้บริการ ได้แก่
– การทำความสะอาดบ้าน
– การวางแผนการใช้จ่าย
– การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
– บทบาทสมมติในครอบครัว
1.4 ทักษะการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ฝึกกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยรู้จักบริหารจัดการเวลายามว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง กิจกรรมที่ให้บริการได้แก่
– กิจกรรมงานศิลปะ – กิจกรรมร้องเพลง – เล่นดนตรี – เกมส์
– กิจกรรมงานประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ เป็นต้น
1.5 ทักษะการทำงาน ฝึกการทำงานเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยรู้จักเลือกงานที่เหมาะสมกับความสามารถ ส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อบทบาทและความสำคัญของการทำงานกิจกรรมที่จัดให้บริการ ได้แก่
– การทำผ้าบาติก – การทำเปเปอร์มาเช่ – การทำเทียนหอม – ดอกไม้จัน – พรมเช็ดเท้า
1.6 ทักษะการอยู่ร่วมกับชุมชน / สังคม ฝึกทักษะที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชุมชน รู้จักบทบาทของตนเองต่อสังคม และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น กิจกรรมที่ให้บริการ ได้แก่
– กิจกรรมสำรวจชุมชน
– กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ
– กิจกรรมการสื่อสารในชุมชน
– กิจกรรมชุมชนจำลอง
     2. กิจกรรมพัฒนาทักษะทางอาชีพและสังคม
2.1 กลุ่มกิจกรรมเตรียมฝึกอาชีพเน้นให้ผู้ป่วยรู้จักงานด้านการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อส่งเสริมให้ผ่านเข้าทำงานในกลุ่มฝึกอาชีพ / ชุมชนหรือ เครือข่ายอาชีพอื่น ๆที่นัสังคมสงเคราะห์จัดให้
2.2 กลุ่มฝึกอาชีพ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การประกอบอาชีพโดยผ่านการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง กิจกรรมที่ให้บริการในกลุ่มทักษะนี้  ได้แก่
งานหัตถกรรม  งานขายของหน้าร้าน  งานประดิษฐ์ของชำร่วย  งานแม่บ้านทำความสะอาด  งานผู้ช่วยคนสวน  งานซักรีด  งานทำขนม
ประโยชน์ของงานอาชีวบำบัด
  1. ด้านร่างกาย  ช่วยพัฒนากำลังกล้ามเนื้อ  เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของข้อ  เพิ่มระดับความทนทานในร่างกาย  และเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ  อวัยวะต่างๆ ในการทำงาน
  2. ด้านจิตใจ  ช่วยลดและแก้ไขอาการป่วย  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  ช่วยระบายอารมณ์ก้าวร้าว  ช่วยลดอาการซึมเศร้า  ช่วยเพิ่มช่วงความสนใจ  เพิ่มสมาธิ  เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง  เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสามารถของตน  มีการเชื่อถือและไว้วางใจบุคคลอื่น  เป็นต้น
  3. ด้านสังคม  ช่วยเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น  เป็นสื่อในการสร้างสัมพันธภาพ  เรียนรู้กฎเกณฑ์สังคม  และช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
อาชีวบำบัดต่างจากกิจกรรมบำบัดอย่างไร
  • นักอาชีวบำบัด มีความรู้ทางการสังเคราะห์ขั้นตอนการทำกิจกรรมที่เกิดผลงาน ผลิตผล และนำไปต่อยอดในการฝึกพัฒนาอาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยทางจิตหาประกอบอาชีพหลังออกจากโรงพยาบาลและกลับสู่ชุมชนที่พร้อมต่อการประกอบอาชีพ
  • นักกิจกรรมบำบัด มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ จิตวิทยา สังคมวิชา ขั้นตอนพื้นฐานของการเตรียมความพร้อมในการทำงานและประกอบอาชีพ (ศึกษางานปั้นดิน งานไม้ งานศิลปะ งานถักทอ งานนันทนาการ) และฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก เน้นกระบวนการประเมินและใช้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัด (ตัวผู้บำบัด/ตัวผู้ได้รับการบำบัด, การสอนและจัดการเรียนรู้, การวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรม, สัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการ, และการปรับสิ่งแวดล้อม) ภายใต้การดูแลของอาจารย์จากสถาบันการศึกษาและนักกิจกรรมบำบัดที่ขึ้นทะเบียนใบประกอบโรคศิลปะ
  • นักกิจกรรมบำบัดสามารถวางแผนการจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัต โดยใช้หลักการให้เหตุผลทางคลินิกถึงความสนใจ ความต้องการ ความเข้าใจ ความพร้อม ความคิดริเริ่มทำกิจกรรมอย่างมีเป้าหมาย ความคิดริเริ่มทำกิจกรรมอย่างมีแรงจูงใจ และความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านขั้นตอนการทำกิจกรรมที่มีคุณค่า ที่สำคัญนักกิจกรรมบำบัดมีทักษะการสังเกต การสนทนา การให้คำปรึกษา และการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางกิจกรรมบำบัด สู่การประเมินผลความก้าวหน้าของการจัดกิจกรรมการรักษา ทั้งแบบข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในภาพรวมของกลุ่มกิจกรรมและแต่ละบุคคลที่เข้าร่วมกลุ่มในปริมาณที่เหมาะสม เช่น กลุ่มที่ต้องการกระตุ้นทักษะความรู้ความเข้าใจมาก มีเกณฑ์ใช้ผู้บำบัด 1 คนต่อผู้ป่วยไม่เกิน 6 คน กลุ่มที่ต้องการกระตุ้นทักษะความรู้ความเข้าใจปานกลาง มีเกณฑ์ใช้ผู้บำบัด 1 คนต่อผู้ป่วยไม่เกิน 8 คน พร้อมเน้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมแบบช่วยเหลือกัน และกลุ่มที่ต้องการกระตุ้นทักษะความรู้ความเข้าใจน้อย มีเกณฑ์ใช้ผู้บำบัด 1 คนต่อผู้ป่วยไม่เกิน 10 คน พร้อมเน้นให้ผู้ป่วยคิดริเริ่มทำกิจกรรมด้วยตนเอง และ/หรือกับคนอื่นๆ
  • นักอาชีวบำบัด เน้นการสอนทักษะการฝึกอาชีพแบบตรงไปตรงมา เช่น อธิบายอุปกรณ์ที่ใช้และสาธิตให้ดูทุกขั้นตอน จากนั้นให้ผู้ป่วยแต่ละคนต่างคนต่างทำ ทำได้บางขั้นตอนก็จะได้รับความช่วยเหลือจากนักอาชีวบำบัด ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ว่างและพยายามทำกิจกรรมที่น่าสนใจ แต่กิจกรรมส่วนใหญ๋จะเกิดจากความคิดของนักอาชีวบำบัด และไม่ได้สร้างโอกาสท้าทายความคิดริเริ่มของผู้ป่วยได้รวดเร็วนัก ทำให้กลุ่มกิจกรรมแบบนี้เป็นกิจกรรมการฝึกอาชีพ และไม่สามารถประเมินความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลได้มากกว่าการจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัตของนักกิจกรรมบำบัด
หลายโปรแกรมในต่างประเทศ มีการจัดการที่ทำให้นักอาชีวบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดทำงานร่วมกันในการจัดกิจกรรมกลุ่มหนึ่งๆ ปรับจากกลุ่มกิจกรรมการฝึกอาชีพธรรมดามาเป็นกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัตในหลายๆระดับได้ โดยมีการประเมินทักษะการทำกิจกรรมของผู้ป่วยตามลำดับขั้นตอนของความรู้ความเข้าใจ (ความคิด + ความรู้สึก)  ดังนี้
1. การรับรู้ตนเองในเรื่องสติปัญญา การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว การคาดการณ์ปัญหา และการปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
2. การเลือกเป้าประสงค์ของการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต และความพึงพอใจในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต
3. การวางแผนขั้นตอนการทำกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ มีความคิดริเริ่มทำตามแผนที่วางไว้ (ไม่ควรเกิน 5 ขั้นตอน แต่เน้นการฝึกคิด รู้สึก และกระทำซ้ำๆ ไม่เกิน 3 ครั้ง มีช่วงเวลาพักและผ่อนคลายอารมณ์)
4. การติดตามและประเมินผลการทำกิจกรรมด้วยตนเอง และยอมรับความคิดเห็นจากผู้บำบัดหรือผู้อื่นๆ ในกลุ่มกิจกรรม
5. การรู้จักคิดเชื่อมโยงประโยชน์และคุณค่าของการทำกิจกรรมสู่การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ของชีวิตจริง
“ ลบล้างค่านิยมผลักดันให้เรียนหนังสือเก่ง  ใช่จะเป็นคนเก่งการใช้ชีวิต
ขอให้สร้างค่านิยม สร้างคนเก่งคิด เก่งวิเคราะห์ เก่งพอเหมาะกับความสามารถ
แล้วประเทศชาติจะได้คนเก่งในการสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบสุขมั่นคงยั่งยืน ”
                           เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ไม่ใช่ผู้ร้ายในสังคม  เพียงแต่มีความบกพร่องในบางด้านเท่านั้น  เพียงได้รับโอกาสและการรักษา  ซึ่งคำว่ารักษาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงไปหาหมอที่โรงพยาบาล  แต่เป็นการรักษาด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน  กิจกรรมด้านอาชีพ  หรือจะเป็นกิจกรรมในการใช้ชีวิต  โดยคำนึงถึงความสามารถของเด็ก  สถานศึกษาควรร่วมกันจัดการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลและสร้างเสริมทักษะการทำงานของระบบประสาทสัมผัสให้มีความสามารถที่จำเป็นในการดำรงชีวิต การทำงานเพื่อเลี้ยงชีพในอนาคตได้   ร่วมทั้งสังคมควรตอบรับและให้โอกาสตามความสามารถ   และที่สำคัญทุกภาคส่วนให้ความเข้าใจในภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้  ไม่สร้างความกดดันทางด้านจิตใจ  ให้โอกาสเด็กเหล่านี้ได้แสดงออกของความสามารถที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ความภูมิและคุณค่าในตัวเอง  ร่วมกันเสริมสร้างแนวคิดความสามารถหรือทักษะให้เป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็ก ครอบครัว และสังคมในอนาคตได้  เพียงเท่านี้  สังคมจึงจะเรียกได้ว่า  ภาวะทางสังคมที่เข้าใจและให้โอกาสแก่เด็กทุกคน โดยร่วมกันสร้างเสริมเยาวชนให้เป็นคนเก่งคนดีได้อย่างเท่าเทียมกัน   ทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการรับรู้ และเด็กพิการ

ประเมินตนเอง

     วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน อาจจะมีคุยหรือเล่นไปบ้าง

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อาจจะคุยกันบ้าง ซักถามในสิ่งที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาดี ไม่ใช่สอนเฉพาะเนื้อหาที่อยู่ชีสเท่านั้น อาจารย์จะมีวิดีโอหรือภาพต่างๆ ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น